|
ทาง บมจ. ปตท. มีโปรแกรมช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
ที่สนใจติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้ก๊าซ NGV บ้างหรือไม่
|
มีคะ เพียงท่านมีรายได้ 10,000 บาทขึ้นไปบมจ. ปตท.
ได้ร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำทั้ง 15 แห่ง (ท่านสามารถ
click ดูข้อมูลได้ที่หน้า โครงการสินเชื่อสำหรับยานยนต์
NGV และ สามารถดูรายละเอียดคุณสมบัติผู้กู้ได้ในหัวข้อเดียวกันคะ
|
|
และพิเศษถึง 31 ธันวาคม 2549 นี้เท่านั้น ท่านสามารถผ่อนชำระค่าติดตั้งอุปกรณ์
NGV โดยไม่เสียดอกเบี้ย ปตท. โดยโตรงการ NGV เพื่อคุณตัวอย่างเช่น
ถ้าท่านติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGVราคา 3x,xxx บาท ท่านผ่อนเพียงเดือนละ
1,xxx บาทเท่านั้นคะ รีบหน่อยนะคะ |
|
|
อยากทราบข้อแตกต่างของก๊าซ
LPG กับ NGV ด้วยครับ
|
ราคาจำหน่ายก๊าซ NGV ถูกกว่า NGV ราคา กก.ละ 8.5
บาท, LPG ราคาลิตรละ 9.5 บาท |
|
ก๊าซ NGV ปลอดภัยกว่า เนื่องจาก -->
ก๊าซ NGV เบากว่าอากาศ เมื่อเกิดรั่วไหล ก๊าซ
NGV จะไม่สะสมอยู่ในอากาศจนเกิดการลุกไหม้ เหมือนเชื้อเพลิงอื่น
ๆ ขณะที่ก๊าซหุงต้มและไอน้ำมันเบนซินหรือดีเซล หนักกว่าอากาศ
เมื่อเกิดรั่วไหลจะสะสมอยู่บริเวณพื้นดิน -->
ก๊าซ NGV มีความไวไฟน้อยกว่า
มีอุณหภูมิลุกติดไฟในอากาศได้เอง( Ignition
Temperature) สูงถึง 650 o C ในขณะที่ก๊าซหุงต้มจะติดไฟได้เองที่
481 o C น้ำมันเบนซินที่ 275 o C และน้ำมันดีเซลที่
250 o C |
|
|
ถังบรรจุก๊าซมีความปลอดภัยแค่ไหน
|
เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนในการเปลี่ยนมาใช้
NGV โดยเฉพาะประชาชนจำนวนหนึ่ง ยังมีความกังวลว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ถัง NGV ที่ติดตั้งในรถยนต์จะมีการระเบิดจนเป็นอันตรายหรือไม่
ดังนั้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยส่วนมาตรฐานวิศวกรรม
สถานีบริการและยานยนต์ จึงได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมการทหารม้าที่ 5 ทำการทดสอบถังบรรจุ
NGV เพื่อแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัย เมื่อวันที่ 15
มิถุนายน 2549 ณ ค่ายยานเกราะสัมพันธ์ กรมการทหารม้าที่
5 จังหวัดสระบุรี
กาตรวจสอบถังบรรจุก๊าซ NGV และ ความปลอดภัย
ณ.สนามยิงปืน กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ จ.สระบุรี
(ซึ่งได้เคยออกอากาศในช่วงข่าวภาคค่ำผ่านทางสถานีโทรทัศน์
ช่อง 3,5,7,9,11 และ ITV)
โดยจะมีการทดสอบถังก๊าซทั้งสิ้น 4 แบบ
1.
|
การทดสอบโดยใช้ปืนยิงถังแก๊สจนทะลุ
หรือ Gunfire Test |
|
--> เมื่อถังก๊าซถูกยิงด้วยกระสุนขนาด
7.6 มม. แม้จะเกิดการรั่วไหลของก๊าซ แต่ยังไม่เกิดการระเบิดของถัง
NGV |
2. |
การทดสอบด้วยแรงดันน้ำ
|
|
--> โดยการอัดน้ำเข้าไปในถัง NGV ต้องใช้แรงดันน้ำถึง
600 บาร์ จึงจะทำให้เกิดรอยแตก (ไม่ระเบิด)
ซึ่งเป็นแรงดันมากกว่าการบรรจุก๊าซปกติที่ 200
บาร์ |
3. |
การทดสอบการเผาไหม้
|
|
--> เมื่อจุดไฟเผาที่ถังบรรจุ NGV เต็ม
ซึ่งปรากฏว่าอุปกรณ์นิรภัยที่วาล์วหัวถังทำงานระบาย
NGV แต่ถัง NGV ไม่ระเบิดแต่อย่างใด
|
4. |
การทดสอบการเกิดอุบัติเหตุรถชนสิ่งกีดขวางเผาไหม้ |
|
--> ด้วยความแรงเฉื่อยประมาณ 30 g (30
เท่าของน้ำหนัก) ผลปรากฏว่า ถัง NGV ไม่ระเบิดหรือรั่วไหลหรือหลุดออกจากแท่นยึดเลย
|
|
ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า
ถัง NGV ปลอดภัยแน่นอน
* สำหรับการทดสอบลักษณะที่ 4 เป็นการทดสอบตามมาตรฐาน
ISO 15501-1 ซึ่งมีการกำหนดความแข็งแรงของการติดตั้งถังก๊าซในรถยนต์
โดยการกำหนดความเร่ง
ในแนวต่างๆ ของตัวรถที่การติดตั้งถังบรรจุก๊าซจะรับได้โดยไม่หลุด
ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดทุกลักษณะ
|
|
|
อยากติดตั้งอุปกรณ์ NGV
ในรถยนต์ แต่ทราบมาว่า สถานีให้บริการก๊าซ NGV ยังมีอยู่น้อยมาก
ใช่หรือไม่
|
สถานีบริการ NGV ในปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น
69 สถานี (ข้อมูล ณ 23 สิงหาคม 2549 และจะทยอยเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นเป็น
200 สถานีทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2549 อีกทั้ง บมจ.ปตท.
ยังมีแผนงานที่จะขยายให้ได้ 500 สถานี ภายในปี 2553
|
|
|
ช่วยบอกถึงความแตกต่างของระบบอุปกรณ์ทั้งสองระบบด้วยครับแบบดูด
และ แบบหัวฉีด
|
ชุดอุปกรณ์ระบบดูด (Fumigation System)
เป็นระบบที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนามาตั้งแต่แรก เพื่อทำให้รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน
สามารถใช้ก๊าซ (NGV/LPG) สำหรับเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันในรถได้
เป็นระบบที่ติดตั้งได้ง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการดูแลรักษาภายหลังจากติดตั้งไปแล้ว
เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี คศ. 2000
|
|
ชุดอุปกรณ์ระบบหัวฉีด MPI (Multi-Point
Injection) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับกับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ
โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีระบบคันเร่งไฟฟ้า (ลิ้นปีกผีเสื้อบังคับด้วยมอเตอร์)
เป็นระบบอัตโนมัติที่มีกล่อง ECU ควบคุมการจ่ายก๊าซ
เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าระบบดูด และมีราคาแพงกว่า |
|